เมนู

สีสปาปัณณวรรควรรณนาที่ 4



อรรถกถาสีสปาสูตร



พึงทราบอธิบายในสีสปาสูตรที่ 1 แห่งสีสปาปัณณวรรคที่ 4.
คำว่า ยทิทํ อุปริ คือ ใบประดู่เหล่านี้ เหล่าใด. . . ในเบื้องบน.
คำว่า สีสปาวเน ได้แก่ บนต้นไม้ประดู่ลาย.
จบอรรถกถาสีสปาสูตรที่ 1

2. ขทิรสูตร



ว่าด้วยการทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะตรัสรู้อริยสัจ 4



[1714] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้
ตรัสรู้ ทุกขอริยสัจ...ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว
จัก กระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได เปรียบเหมือน
ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเอาใบตะเคียน ใบทองหลาง หรือใบมะขามป้อม
ห่อน้ำหรือตาลปัตรนำไป ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่
จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[1715] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้
ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ...ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตามความเป็นจริงแล้ว จัก
กระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเอาใบบัว ใบทองกวาว หรือใบย่านทราย ห่อน้ำ
หรือตาลปัตรนำไป ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ. ..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริง
แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น
เหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ
ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบขทิรสูตรที่ 2

อรรถกถาขทิรสูตร



พึงทราบอธิบายในขทิรสูตรที่ 2.
คำว่า ไม่ได้ตรัสรู้แล้ว คือไม่บรรลุแล้ว และไม่แทงตลอดแล้ว
ด้วยญา
จบอรรถกถาขทิรสูตรที่ 2